นับวันไอเดียที่เห็นในภาพยนต์ไซไฟจะได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นของจริงมาก ขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่น Pictionaire โต๊ะไฮเทคที่ทำให้ผู้ใช้สามารถสัมผัสภาพฉายจากโปรเจ็กเตอร์กับวัตถุในโลก แห่งความเป็นจริงได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยเป็นผลงานความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์รีเสิร์ชกับมหาวิทยาลัยแคลิ ฟอร์เนียร์และเบิร์กเลย์
Pictionaire เป็นโต๊ะไฮเทคที่มาพร้อมกับกล้อง และโปรเจ็กเตอร์ที่ได้รับการติดตั้งไว้บนฝ้าเพดานเหนือโต๊ะทีทำงาน โดยกล้องจะทำหน้าที่ถ่ายภาพวัตถุ ส่วนโปรเจ็กเตอร์จะฉายภาพวัตถุที่ถ่ายไว้ (เหมือนสำเนาภาพวัตถุด้วยกล้องแล้วฉายออกมาด้วยโปรเจ็กเตอร์) ลงบนโต๊ะ โดยภาพถ่ายวัตถุที่ฉายลงมาจะสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ในลักษณะของการสัมผัสได้ แบบทัชสกรีน ซึ่งไมโครซอฟท์ใช้เทคโนโลยี Surface ในการตรวจจับการสัมผัสจากภาพฉายด้านบนด้วยกล้องกรองแสงอินฟราเรดที่ติดตั้ง ไว้ใต้โต๊ะตัวเดียวกันดังรูป
กล้อง DSLR และโปรเจ็กเตอร์ที่อยู่เหนือโต๊ะจะทำงานร่วมกัน เพื่อรู้จำภาพวัตถุทั้งส่วนของรายละเอียดของภาพถ่าย ตลอดจนรูปร่างและขนาด ซึ่งจะต้องเท่ากันพอดีเป๊ะ พูดง่ายๆ ก็คือ โต๊ะตัวนี้จะสามารถสำเนาวัตถุในโลกแห่งความเป็นจริงให้กลายเป็นภาพฉาย ดิจิตอลได้นั่นเอง หลังจากนั้นผู้ใช้ก็จะสามารถทำอะไรกับภาพฉายก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการจับย้าย ขยาย หมุน หรือนำมาไปวางบนกระดาษ เพื่อคัดลอกเป็นลายเส้นออกมาดังตัวอย่างในคลิป (โปรแกรมจะจับคู่รูปร่าง และขนาดของวัตถุ เพื่อนำมันมาซ้อนกันโดยอัตโนมัติ) ว่าแต่ว่า เล่ามาถึงตรงนี คุณผู้อ่านพอจะมองออกไหมครับว่า เราจะสามารถนำมันไปใช้ประโยชน์อะไรได้มากกว่านี้บ้าง?
ข้อมูลจาก: http://www.arip.co.th/news.php?id=410757
Pictionaire เป็นโต๊ะไฮเทคที่มาพร้อมกับกล้อง และโปรเจ็กเตอร์ที่ได้รับการติดตั้งไว้บนฝ้าเพดานเหนือโต๊ะทีทำงาน โดยกล้องจะทำหน้าที่ถ่ายภาพวัตถุ ส่วนโปรเจ็กเตอร์จะฉายภาพวัตถุที่ถ่ายไว้ (เหมือนสำเนาภาพวัตถุด้วยกล้องแล้วฉายออกมาด้วยโปรเจ็กเตอร์) ลงบนโต๊ะ โดยภาพถ่ายวัตถุที่ฉายลงมาจะสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ในลักษณะของการสัมผัสได้ แบบทัชสกรีน ซึ่งไมโครซอฟท์ใช้เทคโนโลยี Surface ในการตรวจจับการสัมผัสจากภาพฉายด้านบนด้วยกล้องกรองแสงอินฟราเรดที่ติดตั้ง ไว้ใต้โต๊ะตัวเดียวกันดังรูป
กล้อง DSLR และโปรเจ็กเตอร์ที่อยู่เหนือโต๊ะจะทำงานร่วมกัน เพื่อรู้จำภาพวัตถุทั้งส่วนของรายละเอียดของภาพถ่าย ตลอดจนรูปร่างและขนาด ซึ่งจะต้องเท่ากันพอดีเป๊ะ พูดง่ายๆ ก็คือ โต๊ะตัวนี้จะสามารถสำเนาวัตถุในโลกแห่งความเป็นจริงให้กลายเป็นภาพฉาย ดิจิตอลได้นั่นเอง หลังจากนั้นผู้ใช้ก็จะสามารถทำอะไรกับภาพฉายก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการจับย้าย ขยาย หมุน หรือนำมาไปวางบนกระดาษ เพื่อคัดลอกเป็นลายเส้นออกมาดังตัวอย่างในคลิป (โปรแกรมจะจับคู่รูปร่าง และขนาดของวัตถุ เพื่อนำมันมาซ้อนกันโดยอัตโนมัติ) ว่าแต่ว่า เล่ามาถึงตรงนี คุณผู้อ่านพอจะมองออกไหมครับว่า เราจะสามารถนำมันไปใช้ประโยชน์อะไรได้มากกว่านี้บ้าง?
ข้อมูลจาก: http://www.arip.co.th/news.php?id=410757