ข่าว IT ล่าสุด
ถูกใจอย่าลืม Like Fanpage
ออบเจ็กและฟอร์ม
แสดงแล้ว 5909 ครั้ง /
มีนาคม 15, 2010, 22:41:32

ßë©äûšë

ออฟไลน์ ( แค่นี้ยังอ่อนหัดอยู่นะ )
กระทู้ : 1,534
คะแนนขอบคุณ : 13
เลขเด็ด เลขเด็ด เลขดัง เกร็งเลข ใบ้หวย ประจำงวดนี้ ที่นี่ อาจารย์ตี๋
  จะเห็นว่าเครื่องมือ หรือ คอนโทรล ต่าง ๆ ที่ Visual Basic ได้เตรียมไว้ให้ ไม่ว่าจะเป็น Form, Textbox, Label, ฯลฯ ถือว่าเป็นวัตถุ ซึ่งเรียกว่า Object ในบทนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับ Object, Properties, Method และ Event รวมทั้งทำความรู้จักกับ Form และประเภทของ Form

  ออบเจ็กต์ พร็อพเพอร์ตี้ และเมธอดของ คืออะไรอ็อบเจ็กต์ (objects) คือสิ่งใด ๆ ก็ตาม ซึ่งมีคุณสมบัติ (Properties) ที่บ่งบอกความเป็นตัวเองในขณะนั้น และสามาระแสดงพฤติกรรม (Method) ของตัวเองออกมาได้ เช่น คอนโทรลต่าง ๆ

  คุณสมบัติ (properties) คือสิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงความเป็นวัตถุ และอยู่ภายในตัววัตถุซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้เช่น รูปร่าง ลักษณะ ความกว้าง ความยาว ฯลฯ สำหรับในแต่ละคอนโทรล หรือออบเจ็กต์ อาจจะมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน หรือต่างกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับหน้าที่ของแต่ละคอนโทรล คอนโทรลหรือออบเจ็กต์หนึ่ง ๆ จะมีคุณสมบัติมากมาย หลายอย่าง ยิ่งสามารถปรับแต่งคุณสมบัติให้ตรงกับความต้องการมากเพียงใด โปรแกรมประยุกต์ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นได้ดี ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สามารถปรับแต่ง คุณสมบัติได้จากหน้าต่างProperties หรือปรับแต่งด้วยการเขียนโค้ดก็ได้จะมีคุณสมบัติบางตัว ที่ไมโครซอฟท์แนะนำให้ ปรับแต่งด้วยการเขียนโค้ด และบางตัวปรับแต่งด้วยการแก้ไขในหน้าต่าง Properties และในทางปฏิบัติไม่จำเป็นต้องปรับแต่งทุก ๆ คุณสมบัติ เพราะ Visual Basic ได้ตั้งค่าเริ่มต้น ไว้ให้แล้ว ซึ่งก็สามารถใช้งานได้ในระดับหนึ่ง

  เมธอด (methods) หมายถึง อาการที่วัตถุใด ๆ แสดงออกมาหรือถูกให้แสดงออกมาโดยพฤติกรรมใดๆ ของวัตถุนั้น จะมีผลเชื่อมโยงไปถึงข้อมูลคุณลักษณะภายในวัตถุเองด้วย อาจกล่าวได้ว่า เป็นการควบคุมการทำงานของคอนโทรล หรือออบเจ็กต์นั่นเอง จะใช้จุดเป็นตัวคั่นระหว่างชื่อคอนโทรลกับเมธอด ซึ่งจะเห็นได้ว่า คุณสมบัติและเมธอดมีคามใกล้เคียงกันมาก เนื่องจากจะใช้จุด . เป็นตัวแยกระหว่าง ชื่อคอนโทรลกับคุณสมบัติ หรือชื่อคอนโทรลกับเมธอด จะมีความแตกต่างกัน ในแง่ของการควบคุมคอนโทรล หรือออบเจ็กต์ ซึ่งจะได้ศึกษาในหัวข้อต่อ ๆ ไป

ฟอร์ม

  ฟอร์ม (Form) คือ หน้าต่างที่ใช้สำหรับแสดงผล โดยจะมี ActiveX Controls ต่าง ๆ บรรจุอยู่ภานใน มีหน้าที่สำหรับติดต่อกับผู้ใช้งาน โดย Form ก็ถือว่าเป็นออบเจ็กต์ด้วย

ประเภทของฟอร์ม

  ฟอร์มแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. SDI Form (Single Document Interface Form) เป็นฟอร์มที่สามาระทำงานได้อย่างอิสระ สามารถที่จะวางเครื่องมือต่าง ๆ ได้


2. 2. MDI Form (Multiple Document Interface Form) เป็นฟอร์มที่ใช้บรรจุ SDI Form ไว้ โดย SDI Form ที่จะบรรจุอยู่ภายใต้ MDI Form จะต้องกำหนดคุณสมบัติของฟอร์มให้เป็น MDI child ก่อน สำหรับ MDI Form จะสามารถวางเครื่องมือได้เพียงบางอย่างเท่านั้น


ใน Project แต่ละ Project นั้นจะมี SDI Form ได้ไม่จำกัด แต่จะมี MDI Form ได้เพียงแค่ 1 ฟอร์มเท่านั้น และสำหรับ Project ใดก็ตามที่มีการเรียกใช้ MDI Form และได้กำหนดคุณสมบัติของ SDI Form ให้เป็น MDI Child เมื่อทำการปิด MDI Form แล้วนั้นจะมีผลทำให้ SDI Form ที่เป็น MDI Child ถูกปิดตามไปด้วย

  พร็อพเพอร์ตี้ที่สำคัญของฟอร์ม

  Name   ใช้สำหรับกำหนดชื่อ
  BackColor   ใช้สำหรับกำหนดสีพื้น
  BorderStyle   ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของเส้นขอบ
  Caption   ใช้สำหรับกำหนดข้อความบน Title Bar ของ Form
  ControlBox   ใช้สำหรับกำหนดให้มีปุ่มควบคุมของ Form
  Enabled   ใช้สำหรับกำหนดให้ Form สามารถใช้งานได้หรือไม่
  Font   ใช้สำหรับกำหนดตัวอักษรของข้อความอุปกรณ์ต่าง ๆ ใน Form
  ForeColor   ใช้สำหรับกำหนดสีตัวอักษรของข้อความอุปกรณ์ต่าง ๆ ใน Form
  MaxButton   ใช้สำหรับกำหนดให้มีปุ่มขยายขนาดของ Form
  MDI Child   ใช้สำหรับกำหนดให้ Form มีคุณสมบัติเป็น Form ย่อยของ MDI Form
  MinButton   ใช้สำหรับกำหนดให้มีปุ่มย่อขนาดของ Form
  Moveable   ใช้สำหรับกำหนดให้ Form สามารถย้ายตำแหน่งได้หรือไม่
  Picture   ใช้สำหรับกำหนดรูปบน Form
  ShowInTaskbar   ใช้สำหรับกำหนดให้มีไอคอนแสดงบน Taskbar
  StartUpPosition   ใช้สำหรับกำหนดตำแหน่งการแสดง Form บนจอภาพ
  Visible   ใช้สำหรับกำหนดให้ซ่อนหรือแสดง Form
  WindowState   ใช้สำหรับกำหนดขนาดของ Form เมื่อมีการทำงาน

เมธอดที่สำคัญของ Form

Hide   เป็นการทำงานที่สั่งให้ซ่อน Form
Line   เป็นการทำงานที่สั่งให้วาดเส้นลงบน Form
Move   เป็นการทำงานที่สั่งให้ Form ย้ายตำแหน่งไปยังตำแหน่งที่กำหนด
Print   เป็นการทำงานที่สั่งให้พิมพ์ Form ออกทางเครื่องพิมพ์
Show   เป็นการทำงานที่สั่งให้แสดง Form
Unload   เป็นการทำงานที่สั่งให้ยกเลิกการใช้งานของ Form
อีีเวนต์ที่สำคัญของ Form

Activate   จะเกิดขึ้นเมื่อเลือกใช้งาน Form กรณีที่มีการเปิด Form หลาย ๆ Form พร้อมกัน
Initialize   จะเกิดขึ้นเมื่อ Form ถูกโหลดเข้าไปในหน่วยความจำ
Load   จะเกิดขึ้นเมื่อ Form แสดงผลหลังจากที่ถูกโหลดเข้าไปในหน่วยความจำ
QueryUnload   จะเกิดขึ้นเมื่อมีการปิด Form
Terminate   จะเกิดขึ้นเมื่อ Form ถูกลบออกจากหน่วยความจำ
Unload   จะเกิดขึ้นเมื่อ Form ถูกยกเลิกการใช้งาน
การกำหนดค่าพร็อพเพอร์ตี้ของ Form สามารถจะกำหนดได้ 2 วิธีด้วยกันคือ

1. กำหนดจาก Properties Window


2. กำหนดโดยการเขียนชุดคำสั่งใน Code Editor




เครดิต: ครูขวัญจิตร สุวรรณวงศ์


 

ด้วยฟังค์ชั่น ตอบด่วน คุณสามารถใช้โค๊ดและ เครื่องหมายแสดงอารมณ์ได้ เหมือนการตั้งกระทู้ธรรมดา แต่สามารถทำได้สะดวกกว่า

ระวัง: หัวข้อนี้ไม่มีการอัพเดทมานานถึง 120 วัน

แจ้งเตือน: โพสของคุณจะไม่แสดงจนกว่าผู้ดูแลจะอนุมัติ.
ชื่อ: อีเมล์: