ข่าว IT ล่าสุด
ถูกใจอย่าลืม Like Fanpage
คนซื่อสัตย์ คือ สมบัติของพระราชา
แสดงแล้ว 3008 ครั้ง /
พฤษภาคม 01, 2010, 11:57:14

limited_

ออฟไลน์ ( เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร สาธุ สาธุ )
กระทู้ : 614
คะแนนขอบคุณ : 13
คนซื่อสัตย์ คือ สมบัติของพระราชา

ที่มา หนังสือพิมพ์สยามรัฐฉบับวันศุกร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๑

เมื่อหลายปีก่อน (ประมาณสัก ๑๓ปี) มีนักธุรกิจคนหนึ่งไปหาอาตมาที่วัดสุทัศน์ฯ

เป็นนักธุรกิจที่ทำงานอยู่กับคุณเจริญ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี

เมื่อพบกัน ท่านผู้นี้ก็แจ้งความประสงค์ของการมาพบ และเล่าเรื่องที่เป็นจุดประสงค์ ดังนี้...

“ ท่านคงพอจะจำผมได้นะครับ เราเคยพบกันที่บ้านของคุณเจริญ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี

ผมมีเรื่องอยากจะเล่าให้ท่านฟังดังนี้ว่า

เมื่อก่อนผมเป็นครูสอนวิชาภูมิศาสตร์และวิชาประวัติศาสตร์

ปกติผมต้องไปค้นคว้าข้อมูลในหอสมุดแห่งชาติ

ต่อมา ก็มีนักเรียนหญิงคนหนึ่งผูกเปีย ๒ ข้างเข้าไปค้นข้อมูลอย่างจริงจัง

ว่างก็สนทนากันถึงเรื่องวิชาการ

... อยู่มาวันหนึ่งนักเรียนหญิงคนนั้นก็ชวนผมไปเที่ยวบ้าน

โดยบอกว่าจะให้พ่อเลี้ยงข้าวหนึ่งมื้อ ในฐานะที่ให้ความรู้ด้านวิชาการ

โดยมีการนัดแนะกันที่พระราชวังดุสิต สวนจิตรลดา

โดยเธอบอกว่าเมื่อเข้าประตูที่ ๑

แล้วขอให้บอกแก่คนที่เฝ้าประตูด้วยคำพูดนี้ ( เป็นคำเฉพาะ)

... ครั้นถึงวันนัดหมายผมก็เดินทางไปโดยรถแท็กซี่

เมื่อเข้าประตูผมก็มิได้สงสัย คงบอกเจ้าหน้าที่ตามนั้น

ครั้นถึงขั้นที่ ๒ ผมก็บอกตามนั้นอีก เจ้าหน้าที่ก็อัธยาศัยดี ให้ความเคารพผมอย่างยิ่ง

แต่พอถึงขั้นที่๓ ผมก็เริ่มเห็นภาพชัดเจนว่า...แท้ที่จริงเด็กผู้หญิงคนนั้นคือ

“ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ”

ซึ่งตอนนั้นยังมิได้เฉลิมพระยศนี้...

... ท่านครับ พอผมนึกออกก็เริ่มสั่นแล้ว

แต่เหตุที่ผมนึกไม่ออกนั้น เพราะผมไม่เคยคิดเลยว่า

เจ้าฟ้าจะสนพระทัยในวิชาการอย่างจริงจัง

เวลาค้นคว้าก็ทรงสืบค้นด้วยพระองค์เองทุกอย่าง

ทรงค้นคว้าและจดจำอย่างขมีขมัน

โดยมิได้มีข้าราชบริพารเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพระองค์

และเวลาที่ทรงสนทนาก็ให้ความนับถือคู่สนทนา

ยิ่งรู้ว่าผมเป็นครูสอนวิชาดังกล่าว

... เมื่อผมรู้ว่านักเรียนหญิงคนนั้นคือสมเด็จพระเทพฯ ผมก็ประหม่า

และแล้วรถแท็กซี่ก็ถึงที่นัดพบ

สักครู่พระองค์ก็เสด็จออกมาแล้วตรัสปฏิสันถาร

ถึงตอนนี้ผมก็ก้มลงกราบกับพื้น

และที่ทำให้ผมสั่นยิ่งขึ้นก็คือ

ตอนนี้ผมรู้แล้วว่าคุณพ่อของเด็กผู้หญิงคนนี้คือ

“ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ”

... ท่านครับ

สักครู่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จออกมา

ทรงมีพระพักตร์ที่ยิ้มแย้มแล้วตรัสว่า

“ เห็นลูกสาวบอกว่าเป็นเพื่อนกัน ”

เมื่อพระองค์ตรัสดังนี้ 

ผมก็ก้มลงกราบด้วยความประหม่าเป็นที่สุด แล้วกราบบังคมทูลว่า

“ มิเป็นการบังอาจ พระพุทธเจ้าข้า ”

... พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณตรัสว่า

ขอให้ทำตัวตามปกติไม่ต้องประหม่าหรือกลัวแต่อย่างใด

พระองค์ตรัสขอบใจที่ได้เป็นเพื่อนสนทนาในวิชาการดังกล่าว

จากนั้นพระองค์ก็ตรัสว่า

“ อันที่จริงก็มีผู้อยากขอเข้าเฝ้าฯ เป็นจำนวนมาก

บางรายก็ขอนำเงินขึ้นทูลเกล้าถวาย แต่เราก็ไม่สามารถจะรับเงินของบางคนได้

เราจะรับเงินของเขาได้อย่างไร ในเมื่อเงินที่เขานำมาถวายเรานั้น

เป็นเงินที่เกิดจากการขายแผ่นดินของเรา

เราจึงรับเงินนั้นไม่ได้

... ถ้าจะถามพระราชาอย่างเราว่าพระราชาอย่างเราต้องการอะไร

เราก็ขอตอบว่า ... "พระราชาอย่างเราต้องการคนที่ซื่อสัตย์ 

เพราะคนที่ซื่อสัตย์ คือ สมบัติของพระราชาอย่างเรา ”

... ท่านครับ

ผมก้มลงกราบถวายบังคมพระองค์อีกครั้ง ด้วยความซาบซึ้งน้ำตาไหล

ในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้แก่ครูสอนหนังสือเล็กๆ คนหนึ่ง

พระราชดำรัสของพระองค์มีคุณค่ายิ่งต่อชีวิตของผม

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานเลี้ยงก๋วยเตี๋ยว

เป็นอาหารที่ผมรับประทานแล้วอิ่มตลอดชีวิต........

... ท่านครับ จากวันนั้นมา

ชีวิตผมก็เปลี่ยนแปลงไป โดยที่ผมเองก็มิได้รู้ว่าทำไม

ชีวิตของผมซึ่งเป็นครูต้องเปลี่ยนแปลงงานที่ทำโดยมิได้ตั้งใจ

ชีวิตเจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ

แต่พระราชดำรัสที่พระองค์ตรัสไว้นั้นจารึกอยู่ในใจผมเสมอ

... ผมอยากจะเรียนท่านให้ทราบเพียงเท่านี้แหละครับ

ถ้าท่านจะกรุณานำไปเล่าให้คนทั้งหลายได้รับทราบ

ก็จะเป็นลาภของคนที่ฟัง

เขาจะได้รู้ว่าพวกเขาควรทำอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนของพระราชา

อาจารย์ท่านนี้เมื่อเล่าจบก็ลากลับด้วยสีหน้าที่อิ่มสุขและน้ำตาที่คลอเบ้าตา

มิใช่เพียงอาจารย์ท่านนี้ที่อิ่มสุขเท่านั้น

อาตมาเองซึ่งเป็นผู้ฟังก็อิ่มสุขน้ำตาคลอเบ้าเช่นเดียวกัน

บทความของ พระราชวิจิตรปฏิภาณ วัดสุทัศน์


 

ด้วยฟังค์ชั่น ตอบด่วน คุณสามารถใช้โค๊ดและ เครื่องหมายแสดงอารมณ์ได้ เหมือนการตั้งกระทู้ธรรมดา แต่สามารถทำได้สะดวกกว่า

ระวัง: หัวข้อนี้ไม่มีการอัพเดทมานานถึง 120 วัน

แจ้งเตือน: โพสของคุณจะไม่แสดงจนกว่าผู้ดูแลจะอนุมัติ.
ชื่อ: อีเมล์: